ตอบปัญหาไขข้อข้องใจด้านสุขภาพ
ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด 19 แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญและภาพถ่ายรังสีปอดปกติ
3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบเล็กน้อย ยังไม่ต้องให้ oxygen
4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบที่มีภาวะขาดออกซิเจน หรือภาพรังสีปอดผิดปกติสำหรับยารักษา มีหลายกลุ่มที่ใช้ เช่น ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ ยาแก้ไอ เป็นต้น, ยาต้านไวรัส เช่น favipiravir เป็นต้น, และกลุ่มสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร, ยาต้านการอักเสบ, ยาปฏิชีวนะ ฯลฯ
โดยผู้ป่วยในกลุ่มที่ 1 หากมีอาการ สามารถใช้ยารักษาตามอาการที่มีได้ เช่น ยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ และ/หรืออาจพิจารณาให้ฟ้าทะลายโจร
สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มที่ 2 เป็นต้นไป แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส
ยา favipiravir เป็นยาต้านไวรัส ในกรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด19 แพทย์จะพิจารณาสั่งจ่ายยาต้านไวรัส ตามความรุนแรงของโรค โดยขนาดยาให้ตามน้ำหนักตัว ดังนั้นขนาดยานี้ตามแพทย์สั่ง
ส่วนฟ้าทะลายโจร เป็นกลุ่มสมุนไพร อาจพิจารณาให้ในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด19 ผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการ อาการน้อย ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโควิด18 ที่รุนแรง และไม่มีข้อห้าม
สำหรับผู้ป่วยเด็ก ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในการแนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษา ผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อไวรัสโควิด19
ขณะนี้ยัง ไม่มีข้อมูลการศึกษาผลการใช้ฟ้าทะลายโจรร่วมกับยาต้านไวรัสชนิดอื่น ดังนั้น แนะนำไม่ให้ยาฟ้าทะลายโจรร่วมกันกับยาต้านไวรัส เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงจากยาและไม่แนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อป้องกันโควิด19
สำหรับ ขนาดยา และการให้ยาฟ้าทะลายโจร
- ใช้ยาฟ้าทะลายโจรชนิดแคปซูลหรือยาเม็ดที่ มีสารฟ้าทะลายโจรชนิดสารสกัด (extract) หรือผงบด (crude drug) ซึ่งระบุปริมาณของ สาร andrographolide เป็น มก. ต่อ capsule หรือเป็น % ของปริมาณยา
- คำนวณให้ได้สาร andrographolide 180 มก./คน/วัน แบ่งให้ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร กิน ติดต่อกัน 5 วัน (ถ้าจำนวน capsule ต่อครั้ง มาก อาจแบ่งให้ 4 ครั้ง ต่อวัน)
- เริ่มยาเร็วที่สุดหลังการติดเชื้อ
(ที่มา: แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข โดย คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาลและการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ คณาจารย์ผู้เช่ียวชาญ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ
(คณะกรรมการกำกับดูแลรักษาโควิด-19) ฉบับปรับปรุง วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565)