ตอบปัญหาไขข้อข้องใจด้านสุขภาพ
เมื่อเชื่อว่าติดโควิด-19 ควรเริ่มต้นการตรวจด้วย ATK ในวันที่ 0 (วันแรกที่รู้ตัวว่าสัมผัสความเสี่ยง) วันที่ 3 และวันที่ 7 พร้อมทั้งให้มีการกักตัวที่บ้านเพื่อดูอาการ หาไม่มีอาการและการตรวจครบกำหนด 7 วัน สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยต้องสวมหน้ากากอนามัยและสังเกตอาการของตัวเองต่อไป โอกาสที่พบเชื้อมากที่สุดคือ 2 วันก่อนเริ่มมีอาการ จนถึงมีอาการแล้ว 4-7 วัน
มีโอกาสในการติดเชื้อโควิด ควรทำการตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อยืนยันผลการตรวจ ถ้าพบว่ามีผลตรวจเป็นบวกให้เข้ารับการตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR และเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป แต่ถ้าผล ATK เป็นลบ ให้สังเกตอาการผิดปกติของตัวเอง เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เป็นระยะเวลา 7-10 วันและตรวจ ATK ซ้ำก่อนการกลับมาสู่การใช้ชีวิตแบบปกติต่อไป
เมื่อพบว่าผลตรวจ ATK เป็นผลบวก ควรเข้ารับการตรวจด้วยวิธี RT-PCR เพื่อยืนยันผลว่าติดเชื้อโควิด และเมื่อยืนยันผลการติดเชื้อเป็นผลบวก จะเข้าสู้การรรักษาตามระบบต่อไป สามารถเข้ารับการตรวจวิธี RT-PCR ที่สถานพยาบาล
เมื่อพบว่าติดโควิด ควรเข้าสู่ระบบการรักษาตามสถานที่ที่กำหนดไว้ เช่น โรงพยาบาลสนาม การกักตัวในชุมชน (Community isolation) หรือการกักตัวที่บ้าน (Home isolation) เพื่อได้รับคำปรึกษาจากแพทย์และเข้าหน้าที่ทางการแพทย์และปฏิบัติตัวตามมาตรการเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยทั่วไปการปฏิบัติตัวมีดังนี้
- งดออกจากสถานที่กักตัว และงดการเยี่ยมผู้ติดเชื้อ
- แยกของใช้ส่วนตัว โดยไม่ใช่ของร่วมกับผู้อื่น
- สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ เว้นระยะห่างระหว่างกัน
- ทำความสะอาดของใช้ที่สัมผัสบ่อย
- มีการแยกขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย ออกจากขยะทั่วไป
เมื่อตรวจพบเชื้อโควิดแต่ไม่อาการป่วย ต้องเข้ารับการรับการกักตัวเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อและเข้าสู่ระบบการรักษาที่ถูกต้องตามกระบวนการ พร้อมทั้งการตรวจประเมินอีกครั้งก่อนการกลับมาสู่การใช้ชีวิตแบบปกติต่อไป
หากเป็นผู้ป่วยโควิด ที่ไม่สามารถดูแลตนเองที่บ้านได้ หรืออยู่ในกลุ่ม 608 สามารถแจ้งที่ 1330 เพื่อรับเรื่องประสานเตียงได้
กลุ่ม “608” นั้น ได้แก่ (ข้อใดข้อหนึ่ง) กลุ่มนี้นี้มีภาวะเสี่ยง สามารถรับเรื่องประสานเตียงโควิดได้
1. อายุ 60 ปีขึ้นไป
2. โรคทางเดินหายใจเรื้องรัง
3. โรคหัวใจและหลอดเลือด
4. โรคไตวายเรื้อรัง
5. โรคหลอดเลือดสมอง
6. โรคอ้วน / น้ำหนัก 90 กิโลกรัมขึ้นไป
7. โรคมะเร็ง
8. โรคเบาหวาน
9. หญิงตั้งครรภ์
10. เด็กอายุ 0-5 ปี
วิธีการใช้สิทธิ
1. สิทธิบัตรทอง ไปหน่วยบริการตามสิทธิ (แนะนำไปหน่วยบริการปฐมภูมิ คลินิก/ศูนย์ฯก่อน เพื่อลดความแออัดของ รพ. ถ้าเคสไหนอยากไปรพ.ก็ไปได้ไม่บังคับ) และตามนโยบายยกระดับบัตรทอง สามารถเข้ารับบริการในระบบบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ โดยที่หน่วยบริการจะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัวมาเหมือนในอดีต
ตัวอย่าง หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, รพ.ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.), หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน, ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น
2. สิทธิประกันสังคม ไป รพ.ตามสิทธิที่ลงทะเบียนเลือกไว้ สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน 1506
3. สิทธิข้าราชการ/สิทธิอื่น/ต่างด้าว ไปโรงพยาบาลรัฐหรือสถานพยาบาลภาครัฐได้ทุกแห่ง
หมายเหตุ : ก่อนไปรับบริการผู้ป่วยนอก (OPD) แนะนำให้ผู้ป่วยอาจจะโทรนัดหมายล่วงหน้ากับหน่วยบริการก่อน เพื่อลดความแออัดในหน่วยบริการ
ช่องทางติดต่อการรักษาแบบ HI
หลังจากลงทะเบียนจับคู่หน่วยบริการแล้ว ให้ผู้ป่วยรอทางเจ้าหน้าที่หน่วยบริการ โทรไปซักประวัติอาการก่อน แล้วหน่วยบริการจึงจะจัดส่งยาและอาหาร อุปกรณ์ไปให้ในภายหลังจากซักประวัติอาการเรียบร้อยแล้ว (ไม่ใช่หลังจากลงทะเบียน HI แล้ว หน่วยบริการจะจัดส่งอาหาร ส่งยาฯ ทันที)
ก่อนไปรับบริการผู้ป่วยนอก แนะนำให้ผู้ป่วยอาจจะโทรนัดหมายล่วงหน้ากับหน่วยบริการก่อน เพื่อลดความแออัดในหน่วยบริการ หรือ สามารถเข้ารับบริการในระบบบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ โดยที่หน่วยบริการจะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัวมาเหมือนในอดีต
หากลงทะเบียน HI แล้วยังไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเกิน 6 ชม. สามารถติดต่อมาแจ้งที่ 1330 กด 14 ตลอด 24 ชม. หรือ หากผู้ป่วยประสงค์ไปรับบริการผู้ป่วยนอกตามนโยบาย เจอ แจก จบ สามารถแนะนำได้