ตอบปัญหาไขข้อข้องใจด้านสุขภาพ
ในส่วนเรื่องการประกันภัยกับโควิด 19 ขอแบ่งกว้างๆ เป็น 2 ประเภท ประเภทที่ 1 ได้แก่ ประกันที่จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเมื่อมีการติดเชื้อ กับประเภทที่ 2 คือ ประกันในกลุ่มคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายวันหากมีการเข้ารักษาตัวในสถานพยาบาล (ผู้ป่วยใน)
ประเภทที่ 1 : แบบประกันแบบจ่ายค่าสินไหมทดแทนครั้งเดียวเป็นเงินก้อน หรือที่เรียกกันว่า เจอ-จ่าย-จบ ผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อสามารถใช้ใบรับรองแพทย์ที่รับรองว่าติดเชื้อ หรือกรณีไม่มีใบรับรองแพทย์สามารถใช้เอกสารผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการ (RT - PCR) ทดแทนเพื่อยื่นเรียกร้องต่อบริษัทประกันภัยได้ และไม่เกี่ยวกับการเข้ารักษาพยาบาล ทั้งนี้ ใบรับรองแพทย์ที่จะใช้ประกอบการเรียกร้องผลประโยชน์ดังกล่าวจะต้องเป็นใบรับรองแพทย์ที่อ่านค่าจากการตรวจแบบ RT-PCR เท่านั้น
อย่างไรก็ดี หากท่านซื้อแบบประกันแบบที่มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลด้วย การพิจารณาอนุโลมจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายวันให้แก่ผู้เอาประกันภัยที่รักษาตัวแบบ HI หรือ CI ในกรณีที่จำเป็น ซึ่งสำนักงาน คปภ. อยู่ในระหว่างร่วมหารือกับกระทรวงสาธารณสุข ภาคธุรกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็วเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป
ประเภทที่ 2 : คือ ประกันในกลุ่มคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายวัน หากมีการเข้ารักษาตัวในสถานพยาบาล (ผู้ป่วยใน/ IPD) "ผู้ป่วยใน" ตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด คือ ผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาล และสถานพยาบาล ให้หมายความว่า โรงพยาบาล สถานพยาบาล Hospitel และโรงพยาบาลสนาม แต่ไม่หมายความรวมถึงสถานที่ที่ใช้ในการดูแลรักษาแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation
ถ้าติดโควิดเป็น "ผู้ป่วยใน" รักษาตัวในโรงพยาบาล , Hospitel และโรงพยาบาลสนาม บริษัทประกันต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล และจ่ายค่าชดเชยรายวันหรือค่าชดเชยรายได้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ แต่ถ้าติดโควิดรักษาตัวที่บ้าน เข้าระบบ Home Isolation หรือ Community Isolation คปภ.อนุโลมให้บริษัทประกันจ่ายในกรณีจำเป็นเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เอาประกันภัย
[อ้างอิง: Facebook PR OIC (คปภ.) ]
คนที่ติดเชื้อและได้รับการดูแลรักษาจนหายดีนั้น นอกจากไม่มีอาการแล้ว ยังต้องตรวจ RT-PCR ให้ได้ผลเป็นลบ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย จึงจะเป็นหลักฐานพอจะเชื่อถือได้ว่าหายแล้ว จากการศึกษาต่างๆ พบว่า สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสได้ถึง 7 วันหลังจากอาการต่างๆ ของผู้ป่วยหายไป โดยมีผู้ป่วยรายหนึ่งที่สามารถตรวจพบยาวนานถึง 49 วัน ซึ่งการตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสนี้อาจเป็นซากของไวรัสที่ตายแล้วและไม่ได้แปลว่าผู้ป่วยจะแพร่เชื้อได้ และจำเป็นต้องได้รับใบรับรองแพทย์ยืนยัน
ผู้ติดโควิดที่เข้ารับการรักษาตามกระบวนการจนอาการดีขึ้นแล้ว สามารถกลับมาทำงานได้ปกติ โดยจำเป็นต้องปฏิบัติตัวดังนี้
- ได้รับใบรับรองแพทย์ยืนยัน
- สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างและควรบันทึกไทม์ไลน์ของตัวเอง
- ควรสังเกตอาการตัวเองเสมอ ถ้ามีอาการไอ มีไข้ และอาการเสี่ยงอื่นๆ ควรพบแพทย์ทันที
ควรมีการล้างทำความสะอาดแอร์ในห้องผู้ป่วยหลังพ้นเวลากักตัว โดยสามารถทำได้ 2 แบบ
แบบที่ 1 การล้างแอร์ด้วยตนเอง
1) สวมอุปกรณ์ป้องกัน ได้แก่ สวมแว่นตา หมวกคลุมผม ถุงสวมเท้า หน้ากาก ถุงมือ ก่อนลงมือทำ
2) งดการเปิดแอร์เทส นำเบรกเกอร์ลง
3) ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อในภาชนะ เพื่อเตรียมพร้อมล้าง
4) นำผ้าชุบน้ำยาเดทตอลฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮล์ 70% เช็ดให้ทั่วบริเวณหน้ากากแอร์ หรือใช้กระดาษทิชชูชุบน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดให้ทั่วหน้ากากแอร์ แล้วทิ้งลงถุงขยะ (เช็ดไปในทิศทางเดียว)
5) ค่อย ๆ เปิดฝาหน้าแอร์ ดึงแผ่นกรองฝุ่นออกเบา ๆ อย่าให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย นำไปทำความสะอาด โดยนำผ้าชุบน้ำยาฆ่าเชื้อที่ผสมไว้แล้ว (เช็ดไปในทิศทางเดียว) หรือ นำลงภาชนะที่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วล้างทำความสะอาด นำขึ้นมาเช็ดด้วยผ้าแห้ง แล้ววางผึ่งไว้ (ผ้าที่ใช้ให้นำทิ้งลงในถุงขยะที่เตรียมไว้)
6) นำผ้าซับน้ำ/ผ้าใบมาขึงรองพื้นใต้แอร์
- ครั้งที่ 1 ให้น้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับล้างแอร์ หรือน้ำยาเดทตอลที่ผสมน้ำไว้แล้ว ค่อย ๆ เทลงที่ฟินคอยล์ให้ทั่ว
- ครั้งที่ 2 ค่อย ๆ ถอดหน้ากาก ถาดน้ำทิ้ง จากนั้นนำถุงพลาสติกคุมแผงควบคุมไว้ให้มิดชิด เทน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับล้างเครื่องปรับอากาศ หรือน้ำยาเดทตอลที่ผสมไว้แล้ว ลงบนฟินคอยล์อีกครั้ง จากนั้นค่อยๆ ล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่ฟินคอยล์ จนมั่นใจว่าน้ำยาฆ่าเชื้อที่เทลงฟินคอยล์ออกหมด ใช้ผ้าแห้งซับฟินคอยล์และบริเวณโดยรอบ ปล่อยให้แห้ง
7) นำหน้ากาก ถาดน้ำทิ้ง ไปทำความสะอาด โดยนำผ้าชุบน้ำยาฆ่าเชื้อที่ผสมไว้แล้ว (เช็ดไปในทิศทางเดียว) หรือ นำลงภาชนะที่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วล้างทำความสะอาด เช็ดด้วยผ้าแห้ง แล้ววางผึ่งไว้ เมื่อแห้งแล้วนำไปประกอบให้เรียบร้อย
8) น้ำในภาชนะที่รองล้างแอร์ให้นำเทลงในโถส้วมแล้วเทน้ำล้างทำความสะอาดโถส้วมและพื้นที่โดยรอบ (กรณีที่เป็นชักโครกให้ปิดฝาก่อนกดน้ำทิ้ง) เช็ดทำความสะอาดฝาชักโครก แล้วนำกระดาษทิชชูทิ้งลงถุงขยะที่เตรียมไว้
9) ใช้ผ้าชุบน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดถูพื้นบริเวณที่การล้าง และนำทิ้งลงถุงขยะที่เตรียมไว้
แบบที่ 2 จ้างช่างเพื่อล้างทำความสะอาด โดยมีการควบคุมกำกับให้ช่างมีการป้องกัน และล้างแอร์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
อาการของโรคโควิด รวมถึงการมีไข้ จะมีความแตกต่างกันระหว่างบุคคล ไข้อาจเป็นอาการแรกของการติดเชื้อ หรือเกิดภายหลังอาการอื่นก็ได้ รวมทั้งบางคนอาจไม่มีอาการไข้เลย ทั้งนี้ หากมีอาการไข้ อาจมีในระยะเวลา 2-3 วัน หรือเป็นๆหายๆทั้งสัปดาห์ก็ได้ ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลสำคัญว่า ก่อนออกจากการกักตัวหรือกักกัน ต้องปราศจากไข้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
ได้
- กรณีที่แม่มีอาการป่วยไม่มาก และยังสามารถให้ลูกดูดนมจากเต้าได้ แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเลี้ยงลูกด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อนการสัมผัสลูก และทำความสะอาด ฆ่าเชื้อบริเวณพื้นผิวต่างๆที่คุณแม่สัมผัส และคุณแม่ควรล้างทำความสะอาดหน้าอกเมื่อมีการไอหรือจามรดบริเวณหน้าอก
- กรณีแม่ป่วยไม่สามารถให้ลูกดูดนมจากเต้าได้ ให้แม่บีบเก็บน้ำนม โดยก่อนและหลังการบีบเก็บน้ำนมแม่ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกครั้ง และมีผู้ช่วยป้อนนมให้ลูกที่มีสุขภาพแข็งแรง
ได้ หากแม่มีอาการป่วยไม่มาก หรือหายป่วยแล้วสามารถกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ตามปกติ
ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด 19 แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญและภาพถ่ายรังสีปอดปกติ
3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบเล็กน้อย ยังไม่ต้องให้ oxygen
4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบที่มีภาวะขาดออกซิเจน หรือภาพรังสีปอดผิดปกติสำหรับยารักษา มีหลายกลุ่มที่ใช้ เช่น ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ ยาแก้ไอ เป็นต้น, ยาต้านไวรัส เช่น favipiravir เป็นต้น, และกลุ่มสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร, ยาต้านการอักเสบ, ยาปฏิชีวนะ ฯลฯ
โดยผู้ป่วยในกลุ่มที่ 1 หากมีอาการ สามารถใช้ยารักษาตามอาการที่มีได้ เช่น ยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ และ/หรืออาจพิจารณาให้ฟ้าทะลายโจร
สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มที่ 2 เป็นต้นไป แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส
ยา favipiravir เป็นยาต้านไวรัส ในกรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด19 แพทย์จะพิจารณาสั่งจ่ายยาต้านไวรัส ตามความรุนแรงของโรค โดยขนาดยาให้ตามน้ำหนักตัว ดังนั้นขนาดยานี้ตามแพทย์สั่ง
ส่วนฟ้าทะลายโจร เป็นกลุ่มสมุนไพร อาจพิจารณาให้ในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด19 ผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการ อาการน้อย ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโควิด18 ที่รุนแรง และไม่มีข้อห้าม
สำหรับผู้ป่วยเด็ก ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในการแนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษา ผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อไวรัสโควิด19
ขณะนี้ยัง ไม่มีข้อมูลการศึกษาผลการใช้ฟ้าทะลายโจรร่วมกับยาต้านไวรัสชนิดอื่น ดังนั้น แนะนำไม่ให้ยาฟ้าทะลายโจรร่วมกันกับยาต้านไวรัส เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงจากยาและไม่แนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อป้องกันโควิด19
สำหรับ ขนาดยา และการให้ยาฟ้าทะลายโจร
- ใช้ยาฟ้าทะลายโจรชนิดแคปซูลหรือยาเม็ดที่ มีสารฟ้าทะลายโจรชนิดสารสกัด (extract) หรือผงบด (crude drug) ซึ่งระบุปริมาณของ สาร andrographolide เป็น มก. ต่อ capsule หรือเป็น % ของปริมาณยา
- คำนวณให้ได้สาร andrographolide 180 มก./คน/วัน แบ่งให้ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร กิน ติดต่อกัน 5 วัน (ถ้าจำนวน capsule ต่อครั้ง มาก อาจแบ่งให้ 4 ครั้ง ต่อวัน)
- เริ่มยาเร็วที่สุดหลังการติดเชื้อ
(ที่มา: แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข โดย คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาลและการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ คณาจารย์ผู้เช่ียวชาญ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ
(คณะกรรมการกำกับดูแลรักษาโควิด-19) ฉบับปรับปรุง วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565)
ให้ฉีดหลังติดเชื้อแล้ว 1-3 เดือน โดยสามารถรับวัคซีนตามหลักการเดียวกับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อมาก่อน