คุณกำลังมองหาอะไร?

คำ

ถามที่พบบ่อย | 75. การกลับสู่สังคม

ตอบปัญหาไขข้อข้องใจด้านสุขภาพ

หมวดหมู่
Q

จะสามารถรู้ได้อย่างไร หากหายป่วยจากโควิด

A

     คนที่ติดเชื้อและได้รับการดูแลรักษาจนหายดีนั้น นอกจากไม่มีอาการแล้ว ยังต้องตรวจ RT-PCR ให้ได้ผลเป็นลบ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย จึงจะเป็นหลักฐานพอจะเชื่อถือได้ว่าหายแล้ว จากการศึกษาต่างๆ พบว่า สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสได้ถึง 7 วันหลังจากอาการต่างๆ ของผู้ป่วยหายไป โดยมีผู้ป่วยรายหนึ่งที่สามารถตรวจพบยาวนานถึง 49 วัน ซึ่งการตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสนี้อาจเป็นซากของไวรัสที่ตายแล้วและไม่ได้แปลว่าผู้ป่วยจะแพร่เชื้อได้ และจำเป็นต้องได้รับใบรับรองแพทย์ยืนยัน

Q

เมื่อหายป่วยจากโควิดแล้ว ใช้ระยะเวลากี่วัน จึงจะสามารถกลับไปทำงานได้

A

     ผู้ติดโควิดที่เข้ารับการรักษาตามกระบวนการจนอาการดีขึ้นแล้ว สามารถกลับมาทำงานได้ปกติ โดยจำเป็นต้องปฏิบัติตัวดังนี้
     - ได้รับใบรับรองแพทย์ยืนยัน
     - สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างและควรบันทึกไทม์ไลน์ของตัวเอง
     - ควรสังเกตอาการตัวเองเสมอ ถ้ามีอาการไอ มีไข้ และอาการเสี่ยงอื่นๆ ควรพบแพทย์ทันที

Q

เครื่องปรับอากาศในห้องผู้ป่วย หากหายป่วยแล้ว จะต้องทำความสะอาดหรือไม่

A

     ควรมีการล้างทำความสะอาดแอร์ในห้องผู้ป่วยหลังพ้นเวลากักตัว โดยสามารถทำได้ 2 แบบ
     แบบที่ 1 การล้างแอร์ด้วยตนเอง
     1) สวมอุปกรณ์ป้องกัน ได้แก่ สวมแว่นตา หมวกคลุมผม ถุงสวมเท้า หน้ากาก ถุงมือ ก่อนลงมือทำ
     2) งดการเปิดแอร์เทส นำเบรกเกอร์ลง
     3) ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อในภาชนะ เพื่อเตรียมพร้อมล้าง
     4) นำผ้าชุบน้ำยาเดทตอลฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮล์ 70% เช็ดให้ทั่วบริเวณหน้ากากแอร์ หรือใช้กระดาษทิชชูชุบน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดให้ทั่วหน้ากากแอร์ แล้วทิ้งลงถุงขยะ (เช็ดไปในทิศทางเดียว)
     5) ค่อย ๆ เปิดฝาหน้าแอร์ ดึงแผ่นกรองฝุ่นออกเบา ๆ อย่าให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย นำไปทำความสะอาด โดยนำผ้าชุบน้ำยาฆ่าเชื้อที่ผสมไว้แล้ว (เช็ดไปในทิศทางเดียว) หรือ นำลงภาชนะที่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วล้างทำความสะอาด นำขึ้นมาเช็ดด้วยผ้าแห้ง แล้ววางผึ่งไว้ (ผ้าที่ใช้ให้นำทิ้งลงในถุงขยะที่เตรียมไว้)
     6) นำผ้าซับน้ำ/ผ้าใบมาขึงรองพื้นใต้แอร์
     - ครั้งที่ 1 ให้น้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับล้างแอร์ หรือน้ำยาเดทตอลที่ผสมน้ำไว้แล้ว ค่อย ๆ เทลงที่ฟินคอยล์ให้ทั่ว
     - ครั้งที่ 2 ค่อย ๆ ถอดหน้ากาก ถาดน้ำทิ้ง จากนั้นนำถุงพลาสติกคุมแผงควบคุมไว้ให้มิดชิด เทน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับล้างเครื่องปรับอากาศ หรือน้ำยาเดทตอลที่ผสมไว้แล้ว ลงบนฟินคอยล์อีกครั้ง จากนั้นค่อยๆ ล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่ฟินคอยล์ จนมั่นใจว่าน้ำยาฆ่าเชื้อที่เทลงฟินคอยล์ออกหมด ใช้ผ้าแห้งซับฟินคอยล์และบริเวณโดยรอบ ปล่อยให้แห้ง
     7) นำหน้ากาก ถาดน้ำทิ้ง ไปทำความสะอาด โดยนำผ้าชุบน้ำยาฆ่าเชื้อที่ผสมไว้แล้ว (เช็ดไปในทิศทางเดียว) หรือ นำลงภาชนะที่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วล้างทำความสะอาด เช็ดด้วยผ้าแห้ง แล้ววางผึ่งไว้ เมื่อแห้งแล้วนำไปประกอบให้เรียบร้อย
     8) น้ำในภาชนะที่รองล้างแอร์ให้นำเทลงในโถส้วมแล้วเทน้ำล้างทำความสะอาดโถส้วมและพื้นที่โดยรอบ (กรณีที่เป็นชักโครกให้ปิดฝาก่อนกดน้ำทิ้ง) เช็ดทำความสะอาดฝาชักโครก แล้วนำกระดาษทิชชูทิ้งลงถุงขยะที่เตรียมไว้
     9) ใช้ผ้าชุบน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดถูพื้นบริเวณที่การล้าง และนำทิ้งลงถุงขยะที่เตรียมไว้
     แบบที่ 2 จ้างช่างเพื่อล้างทำความสะอาด โดยมีการควบคุมกำกับให้ช่างมีการป้องกัน และล้างแอร์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ